วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 4

    ให้นักศึกษาไปค้นซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้ในงานด้านต่างๆมาคนละ 3โปรแกรมต่างงานกัน ยกตัวอย่างงานที่เกิดจากโปรแกรมนั้นๆมาด้วย แสดงภาพตัวอย่างงานที่เกิดจากโปรแกรมนั้นๆมาด้วย


1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ และสามารถพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์รูปแบบตัวอักษรมีให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ช่วยสร้างเอกสารในรูปแบบที่ต้องการได้ง่าย เช่น สามารถแบ่งเป็นสดมภ์ได้หลายแบบในเอกสารชุดเดียวกัน สามารถนำรูปภาพ หรือกราฟมาเป็นส่วนประกอบของเอกสารได้ สามารถสร้างตาราง จัดเรียงตัวอักษร สามารถใช้งานร่วมกับฐานข้อมูลในการแสดงหรือการพิมพ์งาน เช่น นำฐานข้อมูลรายชื่อผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรที่สร้างจากซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลมาพิมพ์ร่วมกับแบบฟอร์มที่พิมพ์และจัดเตรียมไว้ในซอฟต์แวร์ประมวลคำ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ประมวลคำในปัจจุบันสามารถช่วยสร้างดัชนี และสารบัญได้โดยอัตโนมัติ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ประมวลคำทำให้ความสำคัญของการใช้งานเครื่องพิมพ์ดีดลดน้อยลง เช่น ไมโครซอฟต์เวิร์ด ซียูไรด์เตอร์ โลตัสเวิร์ดโปร และซอฟต์แวร์ประมวลคำของชุดซอฟต์แวร์ปลาดาว เป็นต้น
 



หน้าต่างการใช้งานซอฟต์แวร์ประมวลคำของซอฟต์แวร์ชุดปลาดาว
หน้าต่างการใช้งานของซอฟต์แวร์ประมวลคำไมโครซอฟต์เวิร์ด
 
 
 
 2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spreadsheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด หากผู้ใช้ต้องการสร้างคำสั่งหรือสูตรเองก็สามารถดำเนินการได้ และสามารถสร้างคำสั่งพิเศษที่เรียกว่า มาโคร ในการใช้งานเฉพาะได้ นอกจากนี้โปรแกรมตารางทำงานยังสามารถสร้างกราฟ แผนภูมิสำหรับนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น แผนภูมิแท่ง แผนภูมิวงกลม กราฟเส้น และอื่นๆ 



ตัวอย่างของการอ้างตำแหน่งจากเซลสดมภ์และแถว




หน้าต่างใช้งานของซอฟต์แวร์ตารางทำงานของซอฟต์แวร์ชุดปลาดาว
 
 
 3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (database management software) การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลายๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การประมวลผลข้อมูลพื้นฐาน การสร้างรายงานผล หรือสรุปผลของข้อมูลที่ผ่านการประมวลแล้ว ซอฟต์แวร์นี้จะมีการจัดเก็บทั้งค่าข้อมูลพร้อมโครงสร้างข้อมูล เพื่อช่วยลดความซ้ำซ้อนและความขัดแย้งของข้อมูลตลอดจนช่วยให้ผู้ใช้งานทั้งหลายได้รับความสะดวกและใช้ข้อมูลร่วมกันได้
          ในซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจะมีการจัดเก็บเป็นตารางความสัมพันธ์ (relation) ซึ่งในฐานข้อมูลหนึ่งๆ จะมีตารางความสัมพันธ์ได้หลายตาราง และในแต่ละตารางความสัมพันธ์ก็จะมีได้หลายลักษณะประจำ ( attribute ) ในการสร้างลักษณะประจำนั้นจะมีการกำหนดชนิดของลักษณะประจำ และกำหนดคุณสมบัติอื่นๆ เช่น รูปแบบ และความยาวของเขตข้อมูล เป็นต้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือต้องกำหนดลักษณะประจำ 1 ตัวให้เป็นเขตกุญแจหลัก (primary key) ของตารางความสัมพันธ์ด้วย เมื่อกำหนดลักษณะประจำในตารางความสัมพันธ์แล้ว ก็จะสามารถเติมข้อมูลได้ ซึ่งข้อมูลในแต่ละแถวของตารางความสัมพันธ์ เราเรียกว่า เอนทิตี้ (entity)





หน้าต่างการใช้ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลของไมโครซอฟต์แอกเซส 
 
 
 
http://it.benchama.ac.th/ebook3/page/Lesson5_5_5.htm                             








วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 3

ให้ นศ. เขียนระบบการสอนวิชาอะไรก็ได้ในสาขาวิชาสังคมศึกษา มา 1 ระบบ อธิบายรายละเอียดโดยใช้หลัก IPO มาพอสังเขป

ระบบการสอนวิชาเกษตร

INPUT

1.แผนการสอน เช่น การจัดเตรียมพื้นที่ๆจะให้นักเรียนลงปฎิบัติการเตรียมเมล็ด เป็นต้น
2.วัตถุประสงค์ของการสอน เช่น การสอนวิชาเกษตรเป็นอีกวิชาหนึ่งที่ฝึกหัดให้นักเรียนสามารถดำรงชีพได้ด้วยตนเองและสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ในอนาคตหรือปลูกไว้กินเองปลอดสารพิษอีกด้วย
3.สื่อการสอน เช่น การทำPowerPoint วิธีการปลูกผักหรือการดูแลรักษา หาคลิบวีดิโอสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกผักเกษตรทฤษฏีใหม่จากยูทูป

Process

1.การหาวิธีการสอนที่ไม่น่าเบื่อ แปลกใหม่
2.การใช้สื่อการสอนที่ทันสมัย
3.ดารงลมือปฎิบัติสถานที่จริง โดยการแบ่งกลุ่มเพื่อปลูกและดูแลแต่ล่ะแปลง
4.มีการอบรมเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่

OUTPUT

1.ในด้านความรู้ นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่องการปลูกผักไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ เช่น การปลูกผักไว้กินเอง ช่วยประหยัดและดีต่อสุขภาพด้วยเพราะปลอดสารพิษ
2.ในด้านทัศนคติ ทำให้เป็นคนใจเย็นและมีความอดทน มีความรับผิดชอบ เพราะการปลูกผักนั้นถ้าเราไม่มั่นดูแลเอาใจใส่มั่นรดน้ำ ใส่ปุ๋ย ผักก็จะไม่เจริญงอกงามตามที่เราต้องการได้



วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 2

การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น System หรือไม่ ถ้าเป็น จงบอกองค์ประกอบของระบบการผลิตน้ำตาลทรายตามระบบ I P O มาโดยละเอียด

การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น system มีกระบวนการดังต่อไปนี้

I (Input)
1. การเตรียมดิน
          1.1 ควรเลือกที่ดอน น้ำไม่ขัง ดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ดี หน้าดินลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว pH 5-7.7 แสงแดดจัด  และมีการกระจายของฝนสม่ำเสมอ การคมนาคมสะดวก 
          1.2 ควรปรับระดับพื้นที่และแบ่งแปลงปลูกอ้อย เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องจักรในการเตรียมดินปลูก และเก็บเกี่ยว ตลอดจนการระบายน้ำ
          1.3 การไถ ควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือมากกว่า ความลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว หรือ มากกว่า เพราะอ้อยมีระบบรากยาว ประมาณ 2-3 เมตร และทำร่องปลูก

2. การปลูก 
          2.1 ปลูกด้วยแรงคน คือหลังจากเตรียมดินยกร่อง ระยะระหว่างร่อง 1-1.5 เมตร แล้ว นำท่อนพันธุ์มาวางแบบเรียงเดี่ยวหรือคู่ ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกโดยวางอ้อยทั้งลำเหลื่อมกันลงในร่อง เสร็จแล้วกลบดินให้หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร ถ้าปลูกปลายฤดูฝนควรกลบดินให้หนาเป็น 2 เท่าของการปลูกต้นฤดูฝน
         2.2 การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก จะช่วยประหยัดแรงงานและเวลา เกษตรกรสามารถปลูกอ้อยได้วันละ 8-10 ไร่ แต่จะต้องมีการปรับระดับพื้นที่และเตรียมดินเป็นอย่างดีด้วย
3. การใส่ปุ๋ย เป็นสิ่งจำเป็น ควรมีการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อปรับสภาพทางกายภาพของดิน ปริมาณปุ๋ยที่ใส่ควรดูตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการเจริญเติบโตของอ้อย ถ้ามีการวิเคราะห์ดินด้วยยิ่งดี ปุ๋ยเคมีที่ใส่ควรมีธาตุอาหารครบทั้ง 3 อย่าง คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม 
4. การกำจัดวัชพืช การกำจัดวัชพืชสำหรับอ้อยเป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 4-5 เดือนแรก อาจใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ หรือสารเคมีกำจัดวัชพืชก็ได้ 
5. การตัดและขนส่งอ้อย เกษตรกรจะต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งเกษตรกรจะต้องรู้ว่าอ้อยของตัวเองแก่หรือยัง โดยดูจากอายุ ปริมาณ น้ำตาลในต้นอ้อย และวางแผนการตัดอ้อยร่วมกับโรงงาน 

P (Process)
1. การสกัดน้ำอ้อย   อ้อยจะไหลลงสะพานลำเลียงซึ่งมีชุดใบมีดและเครื่องตีอ้อย เพื่อเตรียมอ้อยให้เป็นเส้นใยหรือฝอยละเอียดก่อนเข้าสู่ชุดลูกหีบ เมื่อเข้าสู่กระบวนการสกัดน้ำอ้อย อ้อยจะเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด)  น้ำอ้อยที่ได้จากชุดลูกหีบ จะถูกปั๊มไปผ่านตะแกรงกรองกากอ้อย แล้วส่งเข้าสู่กรรมวิธีทางวิศวกรรมเคมี เพื่่อรักษาคุณภาพน้ำอ้อยอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยการควบคุมของคอมพิวเตอร์ในขั้นตอนต่าง ๆ จนกระทั่งได้น้ำอ้อยใส 
2. การต้ม น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก(ประมาณ 70 %) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)
3. การเคี่ยวน้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)
4. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก กากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ
5. การอบ ผลึกน้ำตาลรีไฟน์และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ Dryer  เพื่อไล่ความชื้นออก โดยความชื้นสุดท้ายจะเหลือไม่ถึง1% แล้วบรรจุกระสอบ หรือแพคใส่ถุงใสเพื่อจำหน่ายต่อไปเป็นน้ำตาลทราย

O (Output)
สิ่งที่ได้คือ
1. น้ำตาลทราย
2. กากน้ำตาล
3. ชานอ้อย